
Loading...
กิจกรรมการแข่งขันรอบระดับประเทศ Codekathon Final Competition 2022 จัดขึ้นเพื่อเฟ้นหาสุดยอดเยาวชนด้านการเขียนโปรแกรม และสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมอัจฉริยะ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ต่อยอดสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคม ทางโครงการคัดเลือกทีมที่สร้างสรรค์ชิ้นงานนวัตกรรมระดับดีเยี่ยมภูมิภาคละ 2 ทีม รวมทั้งสิ้น 8 ทีม จากผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 177 ทีม ทั่วประเทศ เพื่อชิงรางวัลสุดยอดนวัตกรรมอัจฉริยะ Best Of The Best
RMUTT Innovation
& Knowledge Center
โครงการความร่วมมือระหว่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการพัฒนาศักยภาพนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษา-มัธยมศึกษา จำนวนไม่น้อยกว่า 700 รายทั่วประเทศ (แบ่งการจัดกิจกรรม 4 ภูมิภาค) เข้ารับการฝึกอบรมระยะเวลา 4 วัน (24 ชั่วโมง) ด้วยหลักสูตร “ยกระดับทักษะโค้ดดิ้งสู่การสร้างสรรค์โครงงานนวัตกรรมอัจฉริยะ” มีเนื้อหาครอบคลุมการพัฒนาทักษะ Internet of Things ครอบคลุมแนวคิดในด้าน
โดยวันสุดท้ายของการฝึกอบรมแต่ละรุ่น ผู้เรียนทุกกลุ่มนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากโครงการฯ สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมอัจฉริยะ นำเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณามอบรางวัลให้กับทีมที่มีผลคะแนนดีที่สุด 3 ลำดับ ทั้งนี้ ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในแต่ละรุ่น จะได้รับเชิญเข้าร่วมการแข่งขันระดับประเทศ ต่อไป
รายละเอียดโครงการรุ่น | วันที่อบรม | สถานที่ | จังหวัด |
---|---|---|---|
1 | 2 - 5 มิ.ย. 2565 | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | มหาสารคาม |
2 | 9 - 12 มิ.ย. 2565 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย | สงขลา |
3 | 16 - 19 มิ.ย. 2565 | โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช | นครศรีธรรมราช |
4 | 23 - 26 มิ.ย. 2565 | โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย | เชียงใหม่ |
5 | 30 มิ.ย. - 3 ก.ค. 2565 | มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | พิษณุโลก |
6 | 7 - 10 ก.ค. 2565 | มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ขอนแก่น |
7 | 14 - 17 ก.ค. 2565 | ศูนย์นวัตกรรมและความรู้ RMUTT Innovation & Knowledge Center |
กรุงเทพมหานคร |
8 | 20 สิงหาคม 2565 | ศูนย์นวัตกรรมและความรู้ RMUTT Innovation & Knowledge Center |
กรุงเทพมหานคร |
เรียนรู้ Concept ของ Smart Living, Smart Community, Smart Environment และ Smart Farming ตลอดจนอุปกรณ์ IoT เช่น Raspberry PI รวมไปถึง Censor ชนิดต่าง ๆ พื้นฐานการเชื่อมต่อและปรับแต่งอุปกรณ์ขั้นพื้นฐาน การใช้ภาษา Python ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ Raspberry PI ตรวจจับการเคลื่อนไหว ตรวจจับสภาพแวดล้อม เช่น แสง, ความชื้น, อุณหภูมิ ต่อยอดสู่การสร้างเว็บแอปพลิเคชันเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ IoT รวมไปถึงการออกแบบระบบแจ้งเตือนอัจฉริยะผ่านแอปพลิเคชัน LINE และการใช้ Platform Blynk ในการสร้าง Mobile Application เพื่อควบคุมและสั่งงานอุปกรณ์ IoT
ทั้งนี้ เมื่อผู้เรียนสำเร็จการฝึกอบรมแล้ว สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปประยุกต์ในการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมอุปกรณ์เทคโนโลยี เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ครอบคลุมแนวคิดทั้ง 4 ด้าน ซึ่งเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ทักษะในอนาคต
รายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็มเงินรางวัล 7 รุ่น รุ่นละ 3 รางวัล
ตัวแทนที่ 1 ของแต่จังหวัดร่วมแข่งขัน
หมู่ที่ 7 245 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม รหัสไปรษณีย์ 44150
คุณณัฏฐกานต์ ผาสุข
โทร. 089-8343236
codekathon@itit.ac.th