You are using an outdated browser. For a faster, safer browsing experience, upgrade for free today.

Loading...

โครงการยกระดับทักษะโค้ดดิ้งสู่การสร้างสรรค์

โครงงานนวัตกรรมอัจฉริยะ

CODEKATHON

Codekathon Final Competition 2022

กิจกรรมการแข่งขันรอบระดับประเทศ Codekathon Final Competition 2022 จัดขึ้นเพื่อเฟ้นหาสุดยอดเยาวชนด้านการเขียนโปรแกรม และสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมอัจฉริยะ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ต่อยอดสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคม ทางโครงการคัดเลือกทีมที่สร้างสรรค์ชิ้นงานนวัตกรรมระดับดีเยี่ยมภูมิภาคละ 2 ทีม รวมทั้งสิ้น 8 ทีม จากผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 177 ทีม ทั่วประเทศ เพื่อชิงรางวัลสุดยอดนวัตกรรมอัจฉริยะ Best Of The Best

  • Where

    RMUTT Innovation
    & Knowledge Center

  • When

ผลการแข่งขัน
CODEKATHON

โครงการยกระดับทักษะโค้ดดิ้งสู่การสร้างสรรค์โครงงานนวัตกรรมอัจฉริยะ

โครงการความร่วมมือระหว่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการพัฒนาศักยภาพนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษา-มัธยมศึกษา จำนวนไม่น้อยกว่า 700 รายทั่วประเทศ (แบ่งการจัดกิจกรรม 4 ภูมิภาค) เข้ารับการฝึกอบรมระยะเวลา 4 วัน (24 ชั่วโมง) ด้วยหลักสูตร “ยกระดับทักษะโค้ดดิ้งสู่การสร้างสรรค์โครงงานนวัตกรรมอัจฉริยะ” มีเนื้อหาครอบคลุมการพัฒนาทักษะ Internet of Things ครอบคลุมแนวคิดในด้าน

  • เกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm)
  • การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living)
  • ชุมชนอัจฉริยะ (Smart Community)
  • ด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)

โดยวันสุดท้ายของการฝึกอบรมแต่ละรุ่น ผู้เรียนทุกกลุ่มนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากโครงการฯ สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมอัจฉริยะ นำเสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณามอบรางวัลให้กับทีมที่มีผลคะแนนดีที่สุด 3 ลำดับ ทั้งนี้ ทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในแต่ละรุ่น จะได้รับเชิญเข้าร่วมการแข่งขันระดับประเทศ ต่อไป

รายละเอียดโครงการ
click here to Watch

Codekathon

CODEKATHON

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนในสังกัดพื้นที่เขตเมือง และนอกเขตเมืองได้พัฒนาทักษะดิจิทัลด้าน Coding, STEM และ IoT
  2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันด้านต่าง ๆ ได้แก่
    • ด้านเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm)
    • ด้านการดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living)
    • ด้านชุมชนอัจฉริยะ (Smart Community)
    • ด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
  3. เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง ผ่านกระบวนการกลุ่ม ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา (Project based Learning)
  4. เพื่อให้นักเรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผลงานโครงงานนวัตกรรมระหว่างกัน
CODEKATHON

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ

นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั่วประเทศ จำนวน 700 คน
โดยแบ่งตามภูมิภาค 4 ภาค ดังนี้

ภาคเหนือ

จังหวัดเชียงใหม่
และจังหวัดพิษณุโลก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จังหวัดมหาสารคาม
และจังหวัดขอนแก่น

ภาคกลาง

กรุงเทพมหานคร

ภาคใต้

จังหวัดสงขลา
และจังหวัดนครศรีธรรมราช

CODEKATHON

ระยะเวลาการจัดกิจกรรม